วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

RFID

RFID เทคโนโลยีแห่งอนาคต

      รู้จัก RFID เทคโนโลยีแห่งอนาคต RFID (Radio Frequency Identification) คือ ระบบเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งส่งกำลังด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แทนการสัมผัสทางกายภาพ โดยมีการคาดการณ์กันว่าเทคโนโลยีดังกล่าว จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระดับเดียวกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ,อี-คอมเมิทสร์(e-commerce) หรือแม้กระทั่งระบบสื่อสารไร้สายเลยก็ว่าได้

     ระบบดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย อาทิ การค้าปลีก ,การค้าส่ง ,การผลิต ,การรักษาความปลอดภัย ,การทดแทนระบบบาร์โค้ด การเก็บประวัติ และติดตามสัตว์ เป็นต้น โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน ได้แก่ บัตร Proximity ที่ใช้เป็นบัตรพนักงาน หรือเข้าออกสถานที่ และบัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น ความสำคัญของ RFID จะเริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นเมื่อองค์การการค้าโลก หรือ WTO ประกาศใช้อย่างจริงจัง โดยสินค้าต่างๆจะกระจายไปทุกที่ทั่วโลก จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการมากมายชนิดที่เรียกว่าไม่เคยเป็นมาก่อน

     ในอนาคตสินค้าโอท็อป (OTOP) ของประเทศไทยอาจไปวางขายอยู่ที่ประเทศอเมริกา และสินค้าจากประเทศอื่นที่อาจไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนจะมาวางขายในกรุงเทพฯ สินค้านับล้านล้านชิ้นจะถูกส่งข้ามโลกผ่านเมืองท่าต่างๆ เพราะฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ที่จะมีอิทธิพลต่อการค้ารูปแบบใหม่นี้จะเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากผู้ที่สามารถควบคุมระบบขนส่ง(Logistic) และสายการผลิต (Supply chain)ได้ ในเมื่อต่อไปเรื่องต้นทุน ,ความรวดเร็ว และความถูกต้อง จะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแข่งขัน และการอยู่รอดในตลาดโลก เนื่องจากสินค้าจะต้องสามารถตรวจสอบได้ถึงที่มา ทั้งกระบวนการผลิต ตลอดจนถึงวิธีการผลิต โดยไม่เว้นแม้แต่สินค้าการเกษตร เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่จะถูกส่งออกสู่ตลาดโลก จะต้องสามารถตรวจสอบถึงวิธีการเลี้ยง การให้วัคซีน การป้องกันโรคระบาด เพื่อผู้บริโภคจะมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและคุณภาพ สิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่มาของสินค้า ผู้ผลิต สามารถบอกปลายทาง วันหมดอายุ ฯลฯ ทั้งหมดจะรวมอยู่ในเทคโนโลยีที่ถูกคาดการณ์ว่าเป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน นั่นคือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า ?RFID?
     โดยมีการคาดการณ์กันว่าภายในปี 2551 ตลาดทางด้าน RFID จะมีมูลค่ารวมกันทั่วโลกสูงถึง 124,000 ล้านบาท ล่าสุดในต่างประเทศทั้งที่อเมริกา และยุโรป ยักษ์ใหญ่ทางด้านการขาย และการผลิตกำลังอยู่ในระหว่างทดสอบระบบดังกล่าว เพื่อใช้ในระบบการผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานจริงในปี 2548 นอกจากนี้ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำทางด้านการขนส่ง และเทคโนโลยี เตรียมทุ่มเงินประมาณ 2,320 ล้านบาทภายในปี 2549 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีในประเทศ นอกจากนี้ประเทศสิงคโปร์ยังได้นำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี มาใช้ในการเชื่อมโยงท่าเรือระหว่างท่าเรือในประเทศ กับท่าเรือของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก 

โดยเป็นรายแรกในทวีปเอเชีย ที่นำระบบดังกล่าวมาทดลองใช้ในการผนึกตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดที่ส่งไปอเมริกา ตามมาตรฐานของ U.S. Container Security Initiative ด้านการพัฒนาสิงคโปร์ยังได้มีการจัดกลุ่มบริษัท และองค์กรต่างๆภายในประเทศ มาร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่มเพื่อศึกษา และพัฒนาระบบดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงแต่จะพัฒนาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค แต่ยังมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหาร และปฏิบัติการด้านดังกล่าวออกมา เพื่อรองรับการนำไปใช้ในภาคธุรกิจในอนาคต ลองหันกลับมามองที่ประเทศไทยบ้าง เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีถือว่ายังเป็นที่รู้จักไม่แพร่หลายมากนัก โดยจะมีแค่เพียงกลุ่มเฉพาะที่ดำเนินธุรกิจ และมีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเท่านั้นที่รู้จัก 

นอกนั้นแทบจะไม่มีใครทราบเลยว่าเทคโนโลยีดังกล่าวคืออะไร ทั้งๆที่ในต่างประเทศกระแสดังกล่าวตื่นตัวอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเกษตรซึ่งเป็นสินค้าของประเทศไทย ปัจจุบันมีความตื่นตัวอย่างมากในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช่ในการลงทะเบียนสัตว์ ไม่แน่เทคโนโลยี RFID อาจจะได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในประเทศไทยก็ว่าได้ เป็นเพราะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้อนุมัติคลื่นความถี่ย่ายยูเอชเอฟระหว่าง 920-925 เมกะเฮิรตซ์เพื่อนำไปใช้กับ RFID ซึ่งเป็นชิปที่ใช้ติดตัวสินค้าแทนบาร์โค้ด
ในระบบ RFID จะมีองค์ประกอบหลักๆด้วยกัน 3 ส่วน คือ
1. ป้าย (Tag, Transponder)
2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)
3. ฮาร์ดแวร์ หรือ ระบบที่ใช้ประมวลผล

รูปล่างโครงสร้างภายในเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี

 .
เครื่องอ่านจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลักดังนี้
- ภาครับและส่งสัญญาณวิทยุ (Transceiver)
- ภาคสร้างสัญญาณพาหะ (Carrier)
- ขดลวดที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna)
- วงจรจูนสัญญาณ (Tuner)
- หน่วยประมวลผลข้อมูล และภาคติดต่อกับคอมพิวเตอร์ (Processing Unit)


อาร์เอฟไอดีทำงานอย่างไร
การทำงานของอาร์เอฟไอดีเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ด้วยกัน คือ การทำงานระหว่างป้ายอาร์เอฟไอดีแบบ Passive (ป้ายอาร์เอฟไอดีแบบไม่มีแบตเตอรี่ภายใน) กับเครื่องอ่าน และการทำงานระหว่างป้ายอาร์เอฟไอดีแบบ Active (ป้ายอาร์เอฟไอดีแบบมีแบตเตอรี่ภายใน)

 .
การทำงานของป้ายอาร์เอฟไอดีแบบ Passive
ป้ายชนิดนี้ทำงานได้ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใด ๆ โดยทั่วไปการทำงานของป้ายอาร์เอฟไอดีแบบ Passive ในย่านความถี่ต่ำและสูง (LF และ HF) จะใช้หลักการคู่ควบแบบเหนี่ยวนำ (Inductive Coupling) ซึ่งเกิดจากการอยู่ใกล้กับขดลวดจากเครื่องอ่านที่กำลังทำงานและสายอากาศของป้าย ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจากเครื่องอ่านไปยังไมโครชิปในป้ายผ่านสนามแม่เหล็กฟ้าที่เกิดขึ้น

 .
เมื่อไมโครชิปได้รับพลังงานก็จะทำงานตามลักษณะเฉพาะของข้อมูลรหัสประจำตัว ปฏิกิริยาของไมโครชิปดังกล่าวเครื่องอ่านจะรับรู้ได้โดยผ่านสนามแม่เหล็ก และจะทำการตีความเป็นข้อมูลดิจิตอลแสดงถึงรหัสประจำตัว ที่ส่งมาจากป้ายได้ ลักษณะเงื่อนไขในการเหนี่ยวนำแบบชักพา ทำให้การอ่านข้อมูลทำได้ไม่ไกลมากนัก โดยทั่วไประยะอ่านสูงสุดจะประมาณ 1 เมตรขึ้นอยู่กับกำลังงานของเครื่องส่งและคลื่นความถี่วิทยุที่ใช้

 .
โดยปกติป้ายชนิดนี้มักมีหน่วยความจำขนาดเล็ก โดยทั่วไปประมาณ 16 -1,024 ไบต์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ราคาต่อหน่วยต่ำ ไมโครชิปหรือไอซีของป้าย ชนิดพาสซีฟที่มีการผลิตออกมาจะมีทั้งขนาดและรูปร่างเป็นได้ตั้งแต่แบบแท่งหรือแผ่นขนาดเล็กจนแทบไม่สามารถมองเห็นได้ไปจนถึงขนาดใหญ่สะดุดตา ซึ่งต่างก็มีความเหมาะสมกับชนิดการใช้งานที่แตกต่างกัน